ห้วยเสนงเปลี่ยนไป…ใครรับผิดชอบ?

ผู้ใหญ่นิรันดร์ งามยิ่ง

“บ้านผมบ้านตาเตียว ต.คอโค อ.เมือง จ.สุรินทร์ ผมจะพูดตั้งแต่เริ่มแรกเกี่ยวลุ่มน้ำห้วยเสนงตอนล่าง ที่เป็นเขตปกครองของชุมชนผมเชื่อมทางรถไฟไปถึงลำน้ำชีว์ ซึ่งพี่น้องส่วนใหญ่ในชุมชนก็จะมีอาชีพเก็บของป่า หาปลา และรับจ้าง  ในอดีตการหาปลาหาได้ง่าย หาเพื่อการบริโภค เหลือถึงขาย แต่มาถึงทุกวันสายน้ำก็มีการเปลี่ยนแปลง คือการสร้างฝายกระโปงเยืองขึ้นมาเพื่อทดล้ำขึ้นมาให้พี่น้องได้ใช้ ประมาณปี๒๕๔๒ เพื่อให้ได้ใช้น้ำอย่างเพียงพอ สร้างเสร็จชาวบ้านก็ได้ใช้น้ำในการปลูกผัก อาบ ดื่มก็มี เลี้ยงสัตว์ และต่อมาก็มีการเปลี่ยนแปลงอีก ฝายเป็นที่กักผักตบชะวาเวลาหน้าน้ำหลาก บวกกับต้นไมยลาภปกคลุมก็ถือเป็นปัญหา และเวลาหน้าแล้งที่ไม่มีน้ำห้วยเสนงไประบายให้ฝายน้ำล้น ก็เหมือนบ่อที่ขังน้ำไว้ มีแต่น้ำเสียไหลลงไปแทน ในหน้าแล้งคนที่ลงไปหาปลาแช่ในน้ำไม่ถึง ๑๐นาที จะมีอาการคันผิวหนัง  อย่างเช่นช่วงเกี่ยวข้าวปลาบางชนิดก็มีการตาย ไม่รู้สาเหตุ สมัยก่อนไม่เคยตาย ปัจจุบันปลาที่ตายคือปลาที่ทนน้ำมากที่สุด เช่นปลากา ชาวบ้านเองไม่ทราบสาเหตุ เราทราบแต่ว่าน้ำไม่สะอาดปลาจึงตาย ตามธรรมชาติของชาวบ้านที่เข้าใจ และในพื้นที่ของผมได้สร้างระบบประปาขนาดใหญ่ขึ้น ปี๒๕๔๗/๒๕๔๘ แล้วปัจจุบันสร้างเสร็จแล้ว ซึ่งทางโครงการจะใช้น้ำจากห้วยเสนงโดยตรง แต่ผมก็ได้คัดค้านให้ใช้บ่อขนาดเล็ก แต่บ่อน้ำขนาดเล็กมีประมาณ ๒ ไร่ผลิตน้ำไม่พอ ซึ่งตอนนี้มีความจำเป็นที่จะต้องใช้น้ำจากลำน้ำห้วยเสนงเพื่อไปทำน้ำประปา จึงมีผลวิตกกังวลในสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับชุมชน คือพื้นที่เราได้ขุดเปิดทางน้ำไว้แล้วตามคลองน้ำเก่า เพื่อให้มีความกว้างและลึกลงเพื่อจะใช้น้ำในการผลิตเป็นน้ำประปา ถ้าผลกระทบจากการขุดคลองปล่อยน้ำเสียลงมา น้ำประปาของชุมชนที่ไม่ผ่านการกลั่นกรองอย่างดีแล้วให้ชาวบ้านใช้ ทำให้ผมวิตกกังวลต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้น”

ผู้เขียน : คุณเชษฐา สง่าพันธ์ วันอังคารที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *